ธนาคาร เลือด สุนัข
ธนาคารเลือดสุนัข
"ธนาคารเลือดสุนัข” จัดตั้งมานานหรือยังและมีความเป็นมาเป็นไปอย่างไร?
หน่วยธนาคารเลือด (Blood bank unit) โรงพยาบาลสัตว์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน ได้เริ่มก่อตั้ง และเปิดดำเนินการมาตั้งแต่ปีพุทธศักราช
2543 โดยมีนายสัตวแพทย์บดินทร์ ติระพัฒน์
เป็นผู้ริเริ่มในการก่อตั้ง และมีอาจารย์สัตวแพทย์หญิงดอกเตอร์หม่อมหลวงนฤดี
เกษมสันต์ เป็นประธานกรรมการหน่วยธนาคารเลือด และนายสัตวแพทย์เสลภูมิ ไพเราะ
เป็นหัวหน้าหน่วยธนาคารเลือด
ตลอดหนึ่งทศวรรษที่ผ่านมา หน่วยธนาคารเลือด โรงพยาบาลสัตว์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
ทำให้มีความทันสมัยทั้งในด้านเทคโนโลยีและวิชาการ
สามารถรองรับและสนับสนุนการตรวจรักษาโรคในปัจจุบันได้ อย่างเหมาะสม
และเป็นที่ยอมรับอย่างแพร่หลายในสังคม
ในปัจจุบันนี้
หน่วยธนาคารเลือดมีความสามารถในรองรับการบริจาคเลือดจากสุนัขและแมวได้ไม่ น้อยกว่า
1,000 ตัวต่อปี
และมีศักยภาพมากเพียงพอที่เก็บสำรองเลือดเหล่านี้ไว้สำหรับใช้เพื่อรักษา
หรือช่วยชีวิตสุนัขหรือแมวที่ป่วยด้วยภาวะขาดเลือดซึ่งมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ทุกๆ ปี
นอกจากหน้าที่ในการรับบริจาคเลือดและเก็บสำรองเลือดแล้ว
ทางหน่วยธนาคารเลือดยังได้มีการพัฒนาความสามารถและศักยภาพในการผลิตและเก็บ
สำรองผลิตภัณฑ์เลือดชนิดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นพลาสมาที่มีเกล็ดเลือด (Platelet rich plasma) เกล็ดเลือดเข้มข้น (Platelet concentrate) พลาสมาสดแช่แข็ง
(Fresh frozen plasma) พลาสมาแช่แข็ง
(Frozen plasma) ครายโอพริซิพิเตท (Cryoprecipitate)
เป็นต้น
โดยการเก็บการผลิตและการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์เหล่านี้มีความถูกต้องตามหลัก วิชาการ
และมีความทันสมัยไม่แพ้ธนาคารเลือดของคน ทำให้สามารถสนับสนุนการพัฒนาการรักษาภายในโรงพยาบาลได้อย่างดีจากการพัฒนาอย่างต่อเนื่องนี้เอง
ทำให้หน่วยธนาคารเลือด โรงพยาบาลสัตว์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ได้ก้าวขึ้นมายืนอยู่ในฐานะของ
ธนาคารเลือดต้นแบบสำหรับสัตว์เลี้ยงซึ่งมีความพร้อมมากที่สุดแห่งหนึ่งของ
ประเทศไทย ในปัจจุบัน
"เลือดของสุนัขนั้นมีการแบ่งเป็นกรุ๊ป ๆ มั้ย
และแต่ละกรุ๊ปนั้นสามารถให้ข้ามกรุ๊ปกันได้มั้ย ?”
เลือดของสุนัขจะแตกต่างจากเลือดคนตรงที่สุนัขจะมีแอนติเจนบนผิวเม็ดเลือดแดง
แต่ไม่มีแอนติบอดี้ในพลาสมา แต่คนจะมีแอนติบอดี้ในพลาสมาด้วย
เลือดของสุนัขจะมีทั้งหมด 8 กรุ๊ป คือ กรุ๊ป DEA 1.1, DEA 1.2, DEA 3, DEA
4 DEA 5, DEA 6, DEA 7, DEA 8 โดยเลือดกรุ๊ป DEA1.1,
DEA 1.2 จะเป็นหมู่เลือดสำคัญที่ทำให้เกิดปฏิกิริยารุนแรงหลังให้เลือดและมีผลร้าย
แรงจนถึงแก่ชีวิตได้ ส่วนเลือดกรุ๊ป DEA 4 จะเป็นกรู๊ปเลือดที่สามารถให้เลือดกับกรุ๊ปอื่นได้ทุกกรุ๊ป
โดยไม่เป็นอันตรายใด ๆ แต่อย่างไรก็ดี นอกจากการตรวจกรุ๊ปเลือดแล้ว
ยังต้องตรวจความเข้ากันของเลือด (Cross Matching) ก่อนให้เลือดด้วย
ว่าสามารถเข้ากันได้หรือไม่ หากเข้ากันได้จึงจะทำการให้เลือด
เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่ามีความปลอดภัยในการ รับเลือดอย่างแน่นอน
"เลือดที่เก็บมาได้ เอาไปทำอะไรได้บ้าง”
โดยปกติแล้ว “เลือด” จะประกอบด้วยองค์ประกอบหลายอย่าง
ไม่ว่าจะเป็นเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว เกล็ดเลือด น้ำเลือด โปรตีนในเลือด
รวมทั้งปัจจัยการแข็งตัวของเลือดอีกหลายชนิด ซึ่งในการป่วยของสุนัข แต่ละตัว ก็จะมีความต้องการองค์ประกอบเหล่านี้แตกต่างกันไป
เช่น ถ้ามีปัญหาโลหิตจาง อาจจะต้องการแค่เม็ดเลือดแดง แต่ถ้าโปรตีนต่ำ
จะต้องการแค่โปรตีนในเลือด เป็นต้น
ดังนั้น ก็จะเห็นได้ว่า เลือดจากสุนัขแข็งแรง 1 ตัว
ก็จะสามารถแบ่งเป็นองค์ประกอบต่างๆ ไว้ข่วย สุนัขป่วยได้อีกหลายชีวิต ดังนั้น
การพาสุนัขมาบริจาคเลือด 1 ครั้ง
จึงถือเป็นการทำบุญอีกรูปแบบหนึ่งที่มี คุณค่าและได้ประโยชน์อย่างสูงสุด
"สุนัขที่จะมาบริจาคเลือด ต้องมีคุณสมบัติอย่างไรบ้าง?”
เป็นสุนัขที่มีสุขภาพสมบูรณ์ แข็งแรง และได้รับการฉีดวัคซีนครบถ้วน
เป็นสุนัขอายุระหว่าง 1 - 8 ปี ไม่จำกัดเพศ พันธุ์
(ถ้าเป็นเพศเมียต้องรอให้หมดประจำเดือนก่อน)
มีน้ำหนักไม่น้อยกว่า 18 กิโลกรัม
ไม่เคยรับการผ่าตัดใหญ่ในระยะ 1 - 2 เดือนก่อนมาให้เลือด
และไม่เคยได้รับเลือดหรือผลิตภัณฑ์เลือดใดๆ มาก่อนถ้ามีคุณสมบัติตรงตามนี้แล้ว
ก็สามารถพาสุนัขของคุณมาบริจาคเลือดได้เลย โดยก่อนการบริจาคเลือดสักประมาณ 6
ชั่วโมง ควรงดน้ำและอาหารเพื่อความปลอดภัยหากจำเป็นต้องให้ยาซึม
และหากมีการกินยารักษาโรคอะไรอยู่ ควรแจ้งคุณหมอให้ทราบ ก่อนทุกครั้ง
"ขั้นตอนการบริจาคเลือดนั้น มีอะไรบ้าง?”
1.
เมื่อสุนัขมาถึง คุณหมอจะทำการตรวจร่างกายเบื้องต้น
และเจาะเลือดจากเส้นเลือดดำที่บริเวณขา (ปริมาณเลือดประมาณ 3 ซีซี) เพื่อประเมินความสมบูรณ์ของร่างกาย
2.
หากผลการตรวจร่างกายและผลการตรวจเลือดเป็นปกติดี
ก็เข้าสู่ขั้นตอนของการบริจาคเลือด โดยจะเริ่มจากการโกนขนที่คอในตำแหน่งที่จะเจาะเก็บเลือด
แล้วทำความสะอาดด้วยยาฆ่าเชื้อ
เพื่อป้องกันสิ่งสกปรกจากผิวหนังที่จะเข้าสู่ร่างกายในขณะที่เจาะเลือด
ซึ่งการทำความสะอาดนี้ จะทำ 3 รอบด้วยกัน
เพื่อให้มั่นใจได้ว่าปลอดภัยแน่นอน
3.
เมื่อทำทุกอย่างเสร็จแล้ว คุณหมอก็จะเริ่มทำการเก็บเลือด
โดยจะเก็บเลือดจากเส้นเลือดดำบริเวณลำคอ ซึ่งในการบริจาคเลือดครั้งหนึ่งๆ
คุณหมอจะเก็บเลือดปริมาณ 10 -20 ซีซี ต่อน้ำหนักตัวสุนัข 1
กิโลกรัม แต่ไม่เกินปริมาณ 1 Unit หรือ 350-450
ซีซี (ซึ่งปริมาณเลือดที่เก็บดังกล่าว
ไม่เกินความสามารถที่ร่างกายสุนัขจะรับได้)
4.
หลังจากบริจาคเลือดแล้ว
คุณหมอจะทำการบันทึกประวัติการให้เลือดในบัตรประจำตัวผู้บริจาคเลือด
และก็จะจ่ายยาบำรุงเลือดให้ไปรับประทานด้วย ส่วนเรื่องค่าใช้จ่ายไม่ต้องเป็นห่วง
เพราะการบริจาคเลือดนี้เราไม่คิดค่าใช้จ่ายใด ๆ เลย
(ยกเว้นถ้าตรวจพบว่าป่วยและต้องได้รับยารักษาโรค) แถมสุนัขที่เราพามาบริจาค
ยังได้ตรวจสุขภาพฟรีอีกด้วยนะ!!
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น